วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัน 17 ตุลาคม 2552 เวลา 8.30 - 12.30 น. ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์



เสวนาวิชาการ - มุมมองทางกฎหมาย กรณีไต่สวนการตายคดีตากใบ

by : เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
IP : (124.120.155.202) - เมื่อ : 13/10/2009 10:15 AM

โครงการเสวนาวิชาการ
"มุมมองทางกฎหมาย กรณีไต่สวนการตายคดีตากใบ"

วันที่ 17 ตุลาคม 2552 เวลา 8.30 - 12.30 น.
ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


จากเหตุการณ์ปล้นปืนเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ได้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การบังคับใช้กฎอัยการศึก และกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเหตุให้มีการค้น จับกุมคุมขัง ผู้ต้องสงสัยว่าจะกระทำความผิดในข้อหาเกี่ยวข้องกับความมั่นคงเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ข้อมูลการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเนื่องจากถูกทรมาน อุ้มหาย หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่ได้กระทำความผิดก็มีจำนวนมากเช่นกัน ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งมีความลังเล สงสัยและไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินไปภายใต้สถานการณ์ดัง กล่าวเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม

การสลายการชุมนุม บริเวณสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ประชาชนเกิดข้อสงสัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีประชาชน เสียชีวิตขณะมีการสลายการชุมนุมโดยอาวุธปืนจำนวน 6 คน และเสียชีวิตระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี จำนวน 78 คน ซึ่งตามมาตรา 150 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีหลักว่า หากมีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่ กฎหมายกำหนดศาลมีหน้าที่ในการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ พนักงานอัยการจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลไต่สวนการตายจากเหตการณ์ดังกล่าว เป็นคดีหมายเลขดำที่ ช.16/2548 และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ช. 8/2552 ระบุเหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือ ผู้ตายทั้งเจ็ดสิบแปดขาดอากาศหายใจในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งกระบวนการนับแต่วันเกิดเหตุทั้งสิ้นเกือบ 5 ปี

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและสมาคมสิทธิเสรีภาพ (สสส.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการไต่สวนการตาย มาตราฐานการไต่สวน บทบาทของพนักงานอัยการ บทบาททนายความ และหน้าที่ในการดำเนิกระบวนพิจารณารวมถึงการทำคำสั่งตามมาตรา 150 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดมาตราฐานในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมอย่างแท้จริง จึงจัดเสวนาวิชาการ "มุมมองทางกฎหมาย กรณีไต่สวนการตายคดีตากใบ" ขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2552 เวลา 8.30 - 12.30 น. ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เพื่อระดมความคิดเห็นต่อคำสั่งของศาลดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการไต่สวนการตาย หลักการไต่สวนการตายและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเพื่อทำคำสั่งในการไต่สวนการตาย ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนการตาย และเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อระดมความเห็นและมุมมองทางกฎหมายต่อคำสั่งไต่สวนการตายกรณีการสลายการชุมนุมตากใบ
2. เพื่อค้นหาเจตนารมณ์ หลักการ และมาตราฐานที่ถูกต้องและเป็นธรรม ในการดำเนินการไต่สวนการตาย
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนการตาย และเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป

ผู้เข้าร่วม

นักกฎหมาย ทนายความ นักวิชาการ นักสังเกตการณ์คดี และตัวแทนของกลไกในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนการตาย ประมาณ 30 คน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

- เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
- มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
- สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

กำหนดการโครงการเสวนาวิชาการ "มุมมองทางกฎหมาย กรณีไต่สวนการตายคดีตากใบ"
วัน 17 ตุลาคม 2552 เวลา 8.30 - 12.30 น.
ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

8.30 น. - 9.00 น. ลงทะเบียน

9.00 น. - 9.15 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเสวนาวิชาการ และประเด็นในการระดมความเห็น โดย นายไพโรจน์ พลเพชร สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

9.15 น. - 9.45 น. ข้อเท็จจริงและภาพรวมการดำเนินคดีไต่สวนการตาย โดย นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ

9.45 น. - 10.15 น. ข้อสังเกตของผู้สังเกตการณ์คดีต่อกระบวนการพิจารณาคดีไต่สวนการตายตากใบ โดย นางสาวดรุณี ไพศาลพาณิชกุล นักสังเกตการณ์คดี , นางสาวปรีดา ทองชุมนุม มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

10.15 น.- 12.00 น. ระดมความเห็นทางกฎหมายต่อกระบวนการพิจารณาคดีไต่สวนการตายและคำสั่งศาลคดีตากใบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดย

  • นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  • นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ศูนย์ทนายความมุสลิม
  • ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายสมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
  • นางสาววรลักษณ์ สงวนแก้ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม
  • รศ.ประธาน วัฒนวาณิชย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายเทียมทัน อุณหะสุวรรณี ตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุด
  • นายไพบูลย์ วราหะ ไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ*
  • พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ*
  • ตัวแทนจากกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ
  • นางสาวมาดี ธรรมสัจจกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์
  • ตัวแทนจากกรมพระธรรมนูญ *
  • ตัวแทนกองทัพบก*
  • ผู้สนใจเข้าร่วมเสวนา

12.00 น. - 12.30 น. สรุปรวบรวมความเห็นจากการเสวนาและการดำเนินการต่อไป ดำเนินรายการโดย นายไพโรจน์ พลเพชร

หมายเหตุ :
- มีอาหารว่างระหว่างเสวนา
* อยู่ระหว่างการประสานงาน กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น